ที่ดิน นส.3 และ นส.3ก คืออะไร

ที่ดินนส.3 คืออะไร

ที่ดิน นส.3 คือ หนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว แต่เพียงสิทธิ์ครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ โดยหนังสือเป็นแบบธรรมดามีการรังวัด และจัดทำแผนที่ของที่ดิน ซึ่งลักษณะของ นส.3 นั้น จะมีตราครุฑสีดำ อนาคตสามารถออกเป็นโฉนดได้และสามารถซื้อขาย จำนองได้ แต่ต้องมีประกาศจากทางราชการล่วงหน้า 30 วัน จึงจะสามารถจดทะเบียนซื้อขายได้

ที่ดิน นส.3ก คืออะไร

ที่ดิน นส.3ก คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน โดยออกให้ในท้องที่ที่มีระวาง รูปถ่ายทางอากาศ โดยเป็น 1 ใน 3 ประเภท ที่แยกย่อยออกจาก นส.3 ซึ่งลักษณะของ นส.3ก นั้น จะมีตราครุฑสีเขียว อนาคตสามารถออกเป็นโฉนดได้ และสามารถซื้อขาย จำนองได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการประกาศจากทางราชการ 30 วัน สามารถจดทะเบียนซื้อขายได้ทันที

ที่ดิน นส.3 และ นส.3ก สามารถครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่

การครอบครองปรปักษ์ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ท่าว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

จะเห็นว่า ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ส่วนที่ดิน นส.3 หรือ นส.3ก มีเพียงสิทธิ์ครอบครองทำประโยชน์เท่านั้น ไม่ใช่เจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่อย่างใด และถึงแม้บุคคลนั้นจะได้ครอบครองที่ดินนั้นโดยสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ และครอบครองติดต่อกันเป็นเลา 10 ปี ก็ตามที่ดิน นส.3 และ นส.3ก ก็ถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ แต่อาจจะแย่งครอบครองกันได้

ตรามประมวลกฎหมายแพ่งละพาณิชย์ มาตรา 1375 “ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิ์จะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง”

อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎหมายรับรองให้สามารถยื่นคำร้องหรือคำฟ้องขอให้ศาลสั่งให้ได้กรรมสิทธิ์แบบครอบครองปรปักษ์ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2549 บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้ ต้องเป็นกรณีจำเป็นจะต้องมาร้องขอต่อศาล เพื่อให้ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยจะต้องมีกฎหมายระบุไว้แจ้งชัดว่าให้กระทำได้ แต่กรณีตามคำร้องของผู้ร้องมิใช่เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เนื่องจากเป็นที่ดินยังไม่มีโฉนด คงมีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3) เท่านั้น ซึ่งหากมีกฎหมายสนับสนุนให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาล โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่ฝ่ายเดียวไม่ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองในที่ดินและถูกโต้แย้งสิทธิประการใด ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาล โดยทำเป็นคำฟ้องอันเป็นคดีมีข้อพิพาทหาใช่เสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทไม่

 

ที่ดิน นส.3 และ นส.3ก ตกทอดเป็นมรดกได้หรือไม่

เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ นส หรือ นส.3 ก. หรือ นส.3ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นกองมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ แต่การที่ทายาทจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก ที่ดินมรดกนั้นจต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ (ที่ดินที่มีโฉนด) แต่ถ้าที่ดินมรดกนั้นเป็น นส.3,ส.ค.1 ทายาทที่ได้รับมรดกนั้นมาก็จะมีเพียงสิทธิครอบครอง ซึ่งการได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้องมีการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเสียก่อน จึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้

Blogs
What's New Trending

Related Blogs