เริ่มต้นสร้างบ้านติดทะเลในฝัน ต้องระวังอะไรบ้าง?
📍เริ่มต้นสร้างบ้านติดทะเลในฝัน ต้องระวังอะไรบ้าง ?‼️‼️ 🌈การมีบ้านพักอาศัยติดทะเลนับว่าเป็นความฝันของใครหลายคน เพราะให้ความรู้สึกผ่อนคลายไปกับบรรยากาศดีๆที่อยู่รายล้อม ท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ ได้มองเห็นวิวทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม ได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ทำให้ชีวิตมีความสุขเยอะขึ้น✨️✨️ 🌊🌊🌊พื้นที่ชายทะเลเป็นพื้นที่ที่สวยงามแล้วก็ผ่อนคลายทำให้หลายคนต้องการจะไปพักอย่างไม่ต้องสงสัยแต่ว่าทะเลก็ยังมีตอนที่ไม่สวยสวยเท่าไรนักเพราะพื้นที่ชายทะเลนั้นนอกจากจะเผชิญกับไอเค็ม ความชื้นและก็คลื่นน้ำแล้ว ยังจำเป็นต้องพบกับพายุลมฝนที่แรงกว่าพื้นที่ในเมืองด้วย โดยเมื่อฝนตกมักจะสาดเข้ามาอย่างแรงทำให้หลังคาบ้านแล้วก็กันสาดจำเป็นต้องแข็งแรงและมีการระบุองศาที่แม่นยำเพื่อป้องกันฝนสาด👍 – ระยะร่น คืออะไร?⁉️ ระยะร่นหมายถึงบริเวณพื้นที่นอกตึกไปยังจุดควบคุม ในกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความสูงของตึกริมชายฝั่งนั้นระยะร่น จะวัดจากพื้นที่ภายนอกตึกไปยังชายหาด หรือชายทะเล โดยอ้างอิงจากแนวชายฝั่งทะเล โดยใช้ระดับน้ำทะเลสูงสุด หรือ ระดับน้ำทะเลปานกลาง ขึ้นอยู่กับทางท้องที่ระบุ – แนวชายฝั่งทะเลต้องดูอย่างไร..วัดจากจุดไหน?⁉️ พวกเราไม่สามารถไปกำหนดเองได้ว่าแนวชายฝั่งทะเลนั้นอยู่ตรงไหน เพราะว่ากลางวันรวมทั้งกลางคืนจะมีระยะน้ำขึ้นและก็น้ำลงที่แตกต่างกัน ทางจังหวัดต่างๆที่ติดทะเลจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรอดูแลสอดส่องตึกที่สร้างริมทะเลชายหาดโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยของผู้สัญจรและผู้อยู่อาศัย การก่อสร้างอาคารสูงริมทะเล ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเสมอ เพราะภูมิลักษณ์ของทะเลในแต่ละท้องที่นั้นแตกต่างกันไป ขอบชายฝั่งทะเลบางพื้นที่เป็นหินที่แข็งแรง บางส่วนเป็นแนวหาดทราย ซึ่งฐานของพื้นดินบริเวณนั้นมีความแข็งแรงแตกต่างกันก็เลยกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ได้ว่าจะสร้างตึกสูงได้ไม่เกินเท่าไหร่…
ปัญหาต้นไม้ข้างบ้านรุกล้ำเข้ามาในเขตที่ดินแก้ยังไง ใครรับผิดชอบ ?
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในกรณีต้นไม้ข้างบ้านรุกล้ำเข้ามาในเขตที่ดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “การปลูกต้นไม้ในเขตแดน” ระบุว่า หากมีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับปัญหากิ่งไม้เลื้อย ยื่นมายังเขตที่ดิน แล้วเจ้าของที่ดินหรือเจ้าของต้นไม้ไม่มีทีท่าว่าจะแก้ไข บ้านที่ได้รับผลกระทบมีสิทธิตัดกิ่งที่ล้ำเข้ามาในเขตได้ 1. มาตรา 1355 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย” 2. มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้” • ราก เจ้าของที่ดินสามารถตัดรากต้นไม้ข้างบ้านที่รุกล้ำเข้ามาจนทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างบ้านได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งเพื่อนบ้าน (เจ้าของต้นไม้) • กิ่งไม้ ในส่วนของกิ่งไม้ที่ยื่นเข้ามา จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของต้นไม้ทราบถึงปัญหาก่อน ถ้าหากแจ้งไปแล้วไม่มีการจัดการใด ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะสามารถตัดด้วยตนเองได้ 3. มาตรา 1348 “ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น” • ดอกและผล…
รู้ทันราคาประเมิน เพิ่มโอกาสการลงทุน
#สาระน่ารู้ รู้ทันราคาประเมิน เพิ่มโอกาสการลงทุน การรู้จักและเข้าใจถึงราคาประเมินสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามีความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อหรือขายทรัพย์สินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับต้องการของเราจริงๆ สามารถนำไปใช้ประกอบในการซื้อขายได้ เพื่อใช้คำนวณค่าใช้จ่าย อาทิ ภาษีที่ดิน ภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าอากรณ์แสตมป์ก่อนวันโอน สำหรับนักลงทุน จะช่วยให้คำนวณค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ สามารถใช้เป็นข้อมูลต่อรองในการลงทุนได้ ราคาประเมิน ก็คือราคากลางที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางด้านราคาในการซื้อ-ขาย ให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้เชี่ยวชาญนั้นก็ไม่ได้มีเฉพาะภาครัฐเท่านั้น แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนด้วย ผู้กำหนดราคาประเมินที่ดิน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ราคาประเมินที่ดินจากภาคราชการ ประชาชนสามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดินจากภาคราชการได้ผ่านเว็บไซต์กรมธนารักษ์ โดยสามารถค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ทั้งจาก เลขที่โฉนด, เลขที่ดิน, ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน, ราคาประเมินอาคารชุด, ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง *หากต้องการราคาประเมินที่มีความละเอียดสามารถติดต่อสำนักงานที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ได้เลย 2. ราคาประเมินที่ดินจากภาคเอกชน เป็นราคาประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านราคาที่ดินของบริษัทเอกชน โดยจะมีทั้งรูปแบบบริษัทประเมินราคาที่ดิน,…
ย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอพ ThalD ด้วยตัวเอง ง่ายๆไม่ยุ่งยาก
สำหรับคนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนใน ThaID ทั้งผู้ขอย้ายที่อยู่และเจ้าบ้านจะต้องทำการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันก่อน วิธีลงทะเบียนแอปฯ ThaID 1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน และลงทะเบียนก่อนทั้งผู้ขอย้ายที่อยู่และเจ้าบ้าน ผ่านทั้งระบบไอโอเอส (iOS) ผ่าน App Store และระบบแอนดรอยด์ (Android) ผ่าน Google Play 2. เข้าแอปพลิเคชันแล้วทำการลงทะเบียน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1.ลงทะเบียนด้วยตนเอง 2.ลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) ทาง Prosoace Thailand ขอแนะนำ วิธีลงทะเบียนแอปฯ ThaID ด้วยตัวเอง ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเดินทางด้วย 1. เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง…
ทะเบียนบ้าน สีเหลือง กับ สีน้ำเงิน ต่างกันอย่างไร
ทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน (ท.ร.14) คือ เล่มทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย เอกสารทางราชการที่ใช้แสดงเลขประจำบ้านของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นๆ ส่วนทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง (ท.ร.13) คือ ทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทยแต่ได้รับการอนุญาติให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวหรือถาวร รวมถึงได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณีดังนี้ กรณีที่ชาวต่างชาติจดทะเบียนสมรสกับสามีหรือภรรยาที่เป็นชาวไทย กรณีชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดฯเป็นของตัวเองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กรณีชาวต่างชาติที่มีบัตรประชาชนและอยู่อาศัยในไทยเกิน 5 ปี และเปลี่ยนเป็นสัญชาติไทยโดยผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง ข้อดีของทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง คือ สามารถใช้ยืนยันที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน, ใช้ในการเปิดบัญชีธนาคาร และใช้ขอใบอนุญาตขับขี่รวมถึงการซื้อยานพาหนะด้วย
เมื่อสร้างบ้านผิดแปลง ต้องทำอย่างไร แล้วใครต้องรับผิดชอบ?
เมื่อสร้างบ้านผิดแปลง ต้องทำอย่างไร แล้วใครต้องรับผิดชอบ? ข้อพิจารณาเมื่อทราบว่าสร้างบ้านผิดแปลง 1.สร้างบ้านบนที่ดินโดยสุจริต กฎหมายกำหนดให้บ้านตกเป็นของเจ้าของที่ดิน โดยมีข้อแม้ว่าต้องชดใช้ให้อีกฝ่ายในราคาของสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาบนที่ดิน เช่น ที่ดินราคา 1.5 ลบ. แต่การสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจะทำให้มูลค่าของที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.4 ลบ. ทำให้ต้องชดใช้ในราคา 9 แสนบาท หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของที่ดินไม่ได้มีความประมาท ปล่อยปละละเลย หรือไม่ได้ยินยอมให้ผู้อื่นบุกรุก สามารถบอกปัดประกอบหลักฐานยืนยันว่าไม่มีส่วนร่วมรู้เห็น เพื่อร้องขอให้ศาลพิจารณารื้อถอน หรือเรียกร้องให้ซื้อที่ดินทั้งหมด หรือเลือกให้ซื้อบางส่วนไปแทน ขึ้นอยู่กับความต้องการและการเจรจาร่วมกันในชั้นศาล 2.สร้างบ้านบนที่ดินโดยไม่สุจริต กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ปลูกสร้างบ้านผิดโฉนด ต้องทำให้ที่ดินของอีกฝ่ายกลับมาเป็นสภาพเดิม โดยรื้อถอนบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างออก เว้นแต่กรณีที่เจ้าของที่ดินต้องการให้ส่งคืนตามสภาพปัจจุบัน (ไม่รื้อบ้าน) ต้องชดเชยในราคาบ้าน หรือเลือกจ่ายในราคาที่เพิ่มมูลค่าแล้ว 3.กรณีสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาในดินของผู้อื่นโดยสุจริต กฎหมายกำหนดว่าผู้ที่ปลูกสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาไม่ว่าจะมากหรือน้อย ต้องตกลงร่วมกับเจ้าของที่ดินเพื่อชดเชยค่าใช้ที่ดิน แล้วทำการจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ซึ่งหากขยายความแม้ในอนาคตบ้านจะพังลงแต่สิทธิในพื้นที่ ภาระจำยอมก็ยังเป็นของผู้จดทะเบียนตามเดิม…
การรับมรดกที่ดินจะทำอย่างไร
การรับมรดกที่ดินจะทำอย่างไร เมื่อเจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุด หรือผู้ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน,หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข. หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดตายลงไป ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างห้องชุดนั้นก็จะเป็นมรดกซึ่งตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย โดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดก ร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง…
โฉนดแบบไหน สามารถจำนองได้
จำนอง คือ การที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สินของตนมาเป็นประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง หากคู่สัญญามิได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากคู่สัญญาตกลงให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถือเป็นความผิดอาญา ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี ทรัพย์อะไรจำนองได้ ทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่ที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดิน ที่ดินที่จำนองได้โดยทั่วไป อันได้แก่ ที่ดินมีโฉนดที่ดินหมายความรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓, น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข.) หลักเกณฑ์การจำนอง ๑. การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี ๒. ต้องระบุทรัพย์สินที่จำนองให้ชัดเจน ๓. ต้องระบุจำนวนเงินเป็นเงินไทย เป็นจำนวนตรงตัว หรือจำนวนชั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์สินจำนองไว้เป็นประกัน สิทธิของผู้จำนองและผู้รับจำนอง…
กฎหมายน่ารู้ บ้านและที่ดินติดน้ำ
1. อาคารต้องถอนร่นจากเขตน้ำสาธารณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 55 1.1) ถ้าแหล่งน้ำ คูคลอง ลำประโดง เเม่น้ำ กว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ถอยร่นอาคารอย่างน้อย 3 เมตร 1.2) ถ้าเเหล่งน้ำกว่างกว่า 10 เมตร ให้ถอยร่นอาคารอย่างน้อย 6 เมตร 1.3) ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ ทะเล เช่น กว๊านพะเยา อ่าวไทย เป็นต้น ให้ถอยร่นอาคารอย่างน้อย 12 เมตร นับที่ระดับน้ำขึ้นปกติสูงสุดประจำวัน 1.4) ยกเว้นการสร้างสะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ…
5 เรื่องต้องรู้ เพื่อไม่ให้ที่ดิน หรือบ้านเราโดนครอบครองปรปักษ์
เคยรู้หรือไม่ว่าการที่เราเป็นเจ้าของบ้าน หรือที่ดิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินเปล่า) และมีโฉนดที่ดินที่ถูกต้องอยู่ ไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นเจ้าของไปได้ตลอดไป เพราะตามหลักกฎหมายไทยเรานั้น ถ้ามีใครมาครอบครองบ้าน หรือที่ดินเราเกิน 10 ปี เค้าอาจกลายเป็นเจ้าของบ้าน หรือที่ดินเราได้ครับ ซึ่งบ้านเราเรียกกรณีแบบนี้ว่า “การครอบครองปรปักษ์” นั่นเอง (Adverse Possession หรือ Squatters’ Rights) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ ทำได้อย่างไรบ้าง ครอบครองปรปักษ์ คือ การที่คนอื่นเข้าครอบครองทรัพย์สินของเราเป็นเวลาติดต่อกันตามกฎหมาย (10 ปี สำหรับบ้านหรือที่ดิน และ 5 ปี สำหรับทรัพย์สินอื่นๆ) ซึ่งจะทำให้เค้าได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์สินนั้น ตามหลักในมาตรา 1382 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน…