ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ คิดอย่างไร? ไม่เสียภาษีได้ไหม?

เจ้าของที่ดิน ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องรู้! ปีหน้าต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วนะ หลายคนคงยังไม่รู้ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ คิดอย่างไร? ไม่เสียภาษีได้ไหม?  พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่จัดเก็บรายปีจากเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้มีกรรมสิทธิ์บ้าน อาคาร ที่ดิน เป็นต้น โดยคิดจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  คูณอัตราภาษีที่กำหนดตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเภทบุคคล โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษี เมื่อ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถูกประกาศใช้ รัฐก็ต้องยกเลิกการเก็บภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งภาษีบำรุงท้องที่ด้วย เพื่อจะได้ไม่จัดเก็บซ้ำซ้อนกัน โดยมีใจความสำคัญ ได้แก่ –    ประกาศ 12 มีนาคม 2562 แต่เริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2563 –   …

Read More

ข้อแตกต่างระหว่าง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน & ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง จะเรียกเก็บก็ต่อเมื่อเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ เบื้องต้นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หากมีการให้ผู้อื่นเช่าในการเสียภาษีนั้นจะต้องตกลงกันและดูข้อตกลงในสัญญาเช่าว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียภาษีระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น ไม่ว่าจะทำประโยชน์หรือไม่ทำประโยชน์ต่อที่ดินนั้นก็ตาม ก็ต้องทำการเสียภาษีให้กับท้องที่นั้นๆ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำเงินมาชำระภาษีตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 30 เมษายนของทุกปี และที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ก็คือ ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว การคำนวณภาษี ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เช่น บ้านให้เช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 (1,000 × 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 1,500 บาท ภาษีบำรุงท้องที่ คำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีคูณกับเนื้อที่อัตราภาษี เนื้อที่ดิน…

Read More

7 ข้อระวัง!!! ที่รู้แล้วรับรองชาตินี้ไม่มีทางโดนหลอกในการ ซื้อขายที่ดิน

1. ซื้อขายที่ดิน ระวังถูกแอบอ้างโฉนด ซื้อขายที่ดิน ไม่ควรหลงเชื่อโดยการมอบโฉนดของท่านให้ผู้อื่นถือไม่ว่าจะใช้เร็วแค่ไหนก็ตามเพราะเราอาจจะโดยปลอมแปลงเอกสารหรือสับเปลี่ยนโฉนดได้เราต้องเก็บรักษาโฉนดที่ดินรวมทั้งหนังสือสำคัญไว้ในที่ปลอดภัยอย่างให้สูญหาย แล้วให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด 2. อย่าจำนองกับบุคคลทั่วไปที่ไม่น่าเชื่อถือ อย่าทำสัญญากู้เงินโดยการนำที่ไปจำนองกับบุคคลทั่วไป เพราะการมอบโฉนดที่ดินไว้เป็นตัวจำนองเพื่อเอาเงินสดมาใช้ เราอาจจะโดน โฉนดที่ดินปลอมมาแทนในตอนนำเงินสดมาไถ่คืนก็ได้ ควรจำนองกับคนที่เชื่อถือได้หรือทำสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงินที่ไว้ใจได้ 3. ตรวจสอบโฉนดให้แน่ชัด ก่อนรับจำนอง หรือซื้อที่ดินใดๆ จะต้องตรวจสอบโฉนดที่ดินให้แน่ชัด ตั้งแต่ที่ตั้งและสภาพที่ดินให้แน่นอนก่อน 4. ผู้รับมอบอำนาจไว้ใจได้หรือไม่ อย่ารีบเซ็นชื่อลงในหนังสือมอบอำนาจต้องตรวจสอบข้อมูลในใบสัญญาให้ครบถ้วนก่อนและคนที่รับมอบอำนาจจะต้องไว้ใจได้เท่านั้น 5. เช็คนายหน้าให้ดีๆ ไม่ควรเชื่อถือนายหน้าค้าที่ดินมากจนเกินไปเพราะอาจจะมีผลประโยชน์กับเจ้าของที่ดินที่เราจะซื้อก็ได้ และ อย่าไปหลงเชื่อคำโฆษณาทั้งใบปลิวที่นายหน้านำที่มาชักจูง เราจะต้องตรวจที่ดินนั้นๆก่อนทุกครั้งเสมอ 6. เข้าจัดสรรหรือไม่? การซื้อที่ดินควรเลือกซื้อกับผู้ที่มีใบอนุญาตทางราชการให้ทำการจัดสรรที่ดิน เพื่อไม่ให้โดนหลอกลวงเพราะคนมีใบอนุญาตนี้ไว้วางใจได้และสามารถตรวจสอบได้ 7. ตรวจเช็คกับกรมที่ดิน ควรจะต้องทำนิติกรรมที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนั้นต้องหมั่นตรวจเช็คที่ดินทั้งทางทะเบียนและพื้นที่ดิน ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียน โดยที่สามารถตรวจสอบได้ทางสำนักงานที่ดิน

Read More

โฉนดสลักหลังห้ามโอน คืออะไร?

หากเจอหลังโฉนดระบุข้อความว่า “ห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน” มีหมายความว่าอย่างไร และซื้อขายได้หรือไม่ ไปดูกัน โฉนดที่ถูกสลักหลังว่า “ห้ามโอนภายใน 10 ปี” หมายความว่า ในระหว่างระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันออกโฉนดนี้ ไม่สามารถโอนให้กับบุคคลอื่นได้ จะโอนได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วเท่านั้น และไม่ว่าจะทำนิติกรรมใดขึ้นมาอำพรางเพื่อให้มีผลเป็นการซื้อขายกันในอนาคต ซึ่งนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการ “ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย” ตามป.พ.พ. 150 เหล่านั้นตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น นิติกรรมที่ห้ามทำได้แก่ สัญญาซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นสัญญาชนิดอื่นที่ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ก็ไม่ห้าม เช่น จำนอง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อจะทำการซื้อขายที่ดิน…

Read More

ภาษีที่ดิน จ่ายได้ ช่องทางไหนบ้าง?

ใกล้ถึงเวลาต้องชำระภาษีที่ดินกันเข้ามาทุกทีแล้วนะครับ สำหรับปีนี้ได้ มีประกาศจากกระทรวงมหาดไทยให้ขยายกำหนดเวลาการเสียภาษีออกไป 2 เดือน จึงทำให้ลำดับเวลาในการเสียภาษีที่ดิน 2566 นี้ เป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้นั่นเองค่ะ ซึ่งเมื่อตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีที่ดินของตนเองกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะพามารู้จักกับช่องทางการเสียภาษีที่ดิน ว่าสามารถจ่ายผ่านทางไหนได้บ้าง 1.ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. หรือสำนักงานเขต ✓ช่องทางแรกที่เราสามารถไปจ่ายภาษีที่ดินฯ ได้ก็คือหน่อยงานหลักที่จะนำภาษีเหล่านั้นไปพัฒนาพื้นที่ที่ดินนั้นอยู่ หากเป็นในต่างจังหวัดก็สาามรถไปชำระที่ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แต่หากเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปจ่ายได้ที่สำนักงานเขตที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ 2.จ่ายผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ✓ใครที่สะดวกไปจ่ายถึงธนาคารก็สามารถไปชำระได้ที่ ธ.กรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ หรือจะไปจ่ายที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทยก็สามารถทำได้ 3.ช่องทางออนไลน์ ✓ถือได้ว่าเป็นช่องทางการจ่ายภาษีที่ดินฯ…

Read More

โอนที่ดินให้ ลูกหลาน ต้องทำยังไงบ้าง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

การโอนที่ดินให้บุตร ในที่นี้จะกล่าวถึงบุตรโดยชอบทางกฎหมาย (พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน) จะต้องมีการเตรียมเอกสารดังนี้ ซึ่งแบ่งเป็น 5 กรณี 1.มาโอนพร้อมกันทั้งพ่อและแม่ เอกสารในการโอนที่ดินให้บุตรโดยชอบทางกฎหมายคือ โฉนดที่ดิน, บัตรประชาชนของพ่อและแม่, ทะเบียนบ้านของพ่อและแม่, ใบจดทะเบียนสมรส 2.พ่อหรือแม่มาโอนคนเดียว ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาโอนด้วยก็สามารถโอนได้แต่ต้องมีเอกสารของอีกฝ่ายมาด้วยนั่นคือ สำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง, สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง และหนังสือยินยอมคู่สมรสทำนิติกรรม ของผู้ที่ไม่มายื่นเอกสารด้วย 3.หากลูกไปโอนที่ดินพร้อมกับพ่อแม่ด้วยให้นำบัตรประชาชนของลูกพร้อมใบทะเบียนบ้านไปด้วย 4.ถ้าลูกมอบอำนาจให้คนอื่นมาแทน ก็ใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของลูกพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง รวมถึงบัตรประชาชนและทำเบียนบ้านของผู้ที่มาทำเรื่องแทน และต้องมีใบมอบอำนาจกรมที่ดิน (ท.ด.21) เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการโอน 5.ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก เนื่องจากพ่อแม่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเสียชีวิตไปแล้ว หลักฐานที่ต้องนำไป คือ คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก, หลักฐานการตายของเจ้ามรดก, ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก และโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์   ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการโอนมีดังนี้… ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน คิดเป็น…

Read More

ขอบ้านเลขที่ เตรียมอะไรบ้าง?

เอกสาร หลักฐานประกอบการยืนคําขอหนังสือรับรองขอบ้านเลขที่ – บัตรประชาชนของผู้ขอทะเบียนบ้าน (ทั้งนี้หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปทำเรื่องเองได้ ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านอย่างละ 1 ชุด พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง แนบไปพร้อมใบมอบอำนาจและลงลายมือชื่อพยานจำนวน 2 คน ) – ใบ ท.ร.9 หรือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานในท้องที่ที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ (ผู้ใหญ่บ้าน) – หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (ถ้ามี) เช่น โฉนดที่ดิน นส.3 ส.ป.ก.4-01 และ ส.ค.1 เป็นต้น ไม่รวม ภ.บ.ท.5 หรือใบภาษีบำรุงท้องที่  – ใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน (กรณีปลูกบ้านใหม่) หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกบ้าน (กรณีสร้างบ้านนานแล้ว) หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน…

Read More

สีผังเมือง… อีกเรื่องต้องรู้ก่อนซื้อที่ดิน

ไม่ใช่ว่าที่ดินทุกพื้นที่จะสามารถซื้อมาแล้วปลูกสร้างอะไรก็ได้ เพราะที่ดินแต่ละที่ถูกกำหนดไว้แล้วด้วย “ กฎหมายผังเมือง” ซึ่งจะแบ่งเขตพื้นที่ให้มีการนำไปใช้สอยได้ตามที่ถูกกำหนด และวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ ‘สีผังเมือง’ ซึ่งเป็นการแบ่งสีที่ดิน จะถูกแบ่งออกเป็น 10 สีด้วยกัน และแต่ละสีก็บ่งบอกให้เห็นได้ชัดว่าพื้นที่นั้นสามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ทางด้านใดได้บ้าง  สีเหลือง >>ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นน้อย จะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสภาพแวดล้อมของเขตชานเมืองให้อยู่ในระดับที่ดีและรองรับซึ่งการขยายตัวของการอยู่อาศัยในเขตชานเมืองรวมไปถึงเขตการให้บริการขนส่งมวลชนอีกด้วย สีส้ม >>ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง โดยที่ดินประเภทนี้มีจุดประสงค์ที่จะมุ้งเน้นไปที่การรองรับการอยู่อาศัยและการขยายตัวบริเวณเขตต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน รวมไปถึงพื้นที่เขตให้บริการขนส่งมวลชน สีน้ำตาล >>ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูง เน้นไปที่การอนุรักษ์และดำรงให้คงอยู่ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และรองรับการอยู่อาศัยในเขตขนส่งมวลชนไปจนถึงเขตเมืองชั้นในที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชย์อีกด้วย สีแดง >>ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินที่มุ่งเน้นไปในทางพาณิชยกรรมสูง โดยจุดประสงค์ในการใช้งานที่ดินสีนี้คือการเป็นศูนย์พาณิชยกรรมตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาระดับศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าบริการ รวมไปถึงการท่องเที่ยว ทั้งนี้ก็ยังนำไปใช้เพื่อการอยู่อาศัยได้เช่นกัน สีม่วง  >>ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม จะเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลภาวะต่ำ และเป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือย่านอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตและส่งออก และสามารถใช้ที่ดินเพื่อกิจการในรูปแบบอื่นได้ไม่เกิน 10% สีเม็ดมะปราง >>เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์ในรูปแบบคลังสินค้า โดยพื้นที่แถบนี้จุดประสงค์ในการใช้งานคือนำไปสร้างเป็นครังสินค้า…

Read More

6 วิธีรวยไว ทำกำไรจากที่ดินเปล่า

ซื้อที่ดิน เก็งกำไร อย่างไรให้รวยไว การซื้อที่ดินเปล่าเอาไว้ เพื่อหวังสร้างกำไรในอนาคต อาจเป็นเป้าหมายในการลงทุนของใครหลายๆ คน วันนี้เราจึงมาดูกันว่า มีเทคนิคใดบ้างในการเลือกซื้อที่ดินแล้วนำไปทำกำไรต่อได้อย่างมหาศาล รู้ว่าทำเลตรงไหนดี มีอนาคต เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็คงอยากรู้ ว่าที่ตรงไหนทำเลดี และจะมีราคาถ้าซื้อมาไว้ในมือ และตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยได้ คือ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา จาก REIC ซึ่งจะบอกความเคลื่อนไหวก่อนใครในทุกไตรมาสว่า ดัชนีราคาที่ดินเปล่าปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร ตรงไหนบ้าง ที่มีความเคลื่อนไหวของราคาเพิ่มขึ้น ทำให้ประเมินอนาคตของทำเลที่ดินได้แม่นยำมากขึ้น และมีโอกาสได้ที่ดินที่สามารถทำกำไรได้นั่นเอง       2.เช็คคุณภาพที่ดินที่จะซื้อ ว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ ทำเลติดถนน มีทางเข้า-ออก ไม่เป็นที่ตาบอด บริเวณรอบ ๆ ที่ดินนั้นควรมีแหล่งชุมชนเดิมอยู่  มีระบบสาธารณูปโภคครบครัน น้ำไฟเข้าถึงพร้อม…

Read More

ขายที่ดิน ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

ขายที่ดิน ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? ขายที่ดินได้ 1 ครั้ง จะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? ไปดูกัน… ค่าธรรมเนียมการโอน  คิดที่อัตรา 2% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดมีมูลค่ามากกว่ากัน สำหรับราคาประเมินที่ดินจะมีการประเมินทุก ๆ 4 ปี โดยกรมธนารักษ์  เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  หากที่ดินที่จะขายเป็น มรดกที่ได้รับมาหรือมีคนให้โดยเสน่หา สามารถนำไปหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ถ้าที่ดินไม่ได้รับจากมรดก หรือมีผู้มอบให้โดยเสน่หา สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยแนบหลักฐานประกอบ หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่เราถือครองที่ดินได้สูงถึง 10 ปี ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของภาษีเงินได้ตอนไปทำเรื่องซื้อขาย โอนที่ดิน ณ กรมที่ดิน เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์  เมื่อเราขายที่ดินเราจะต้องเสียภาษีตัวใดตัวหนึ่ง ความแตกต่างของภาษีทั้งสองตัวนี้คือ เราจะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ…

Read More