ซื้อ-ขายที่ดินต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
การซื้อ-ขาย ที่ดิน ก็จะมีเรื่องค่าใช้จ่ายหลักอยู่ 3 ตัวด้วยกัน คือ ค่าซื้อขายที่ดินตามราคาที่ตกลงกัน (ผู้ซื้อจ่าย) ค่าโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (แล้วแต่ตกลงกัน) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (แล้วแต่ตกลงกัน) เช่น ค่านายหน้า ค่าจ้างทนายทำสัญญา หรือค่าใช้จ่ายในเรื่องการทำเอกสาร การเดินทาง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ตรงค่าใช้จ่ายอื่นๆ นี้ ใครเป็นคนได้ประโยชน์ คนนั้นก็ต้องเป็นคนรับผิดชอบ ประมาณนี้ค่ะ ค่าโอนที่ดิน มีรายละเอียด ดังนี้ ค่าคำขอในการโอนที่ดินจำนวน 5 บาท ค่าอากรแสตมป์โดยคิดจากราคาประเมินของที่ดิน หรือราคาที่ซื้อขายแล้วแต่ว่าราคาใดจะสูงกว่า ซึ่งทุก ๆ 200 บาทหรือเศษของ 200 บาทนั้นเสียอากรแสตมป์ 1 บาท ค่าพยานที่ไปเป็นพยานในการซื้อขายค่าโอนที่ดินอีกจำนวน…
ที่ดินแบบไหน ที่ใครๆ ก็อยากได้
จะซื้อที่ดินทั้งที ก็อยากได้แบบทำเลดีๆ เก็บไว้ทำกำไรต่อง่ายๆ แล้วที่ดินแบบไหนกันล่ะ ที่ใครๆ ก็ก็อยากจับจองเป็นเจ้าของ…ไปดูกัน…….. 1.ทำเลใกล้ชุมชน ที่ดินที่อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนไม่เกิน 8-10 กิโลเมตร และเป็นที่ดินที่มีแนวโน้มว่าจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเข้ามาเพิ่มเติมในอนาคต เป็นจุดแรกๆ ที่คนซื้อที่ดินตามหา หรือ สังเกตง่าย ๆ คือ ที่ดินที่มีถนนตัดผ่าน เนื่องจากถนนจะเป็นตัวนำความเจริญมาสู่พื้นที่นั้นๆ 2.มีทางเข้า-ออกสะดวก เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งสำหรับการซื้อที่ดิน คือควรจะมีทางเข้า-ออกที่สะดวก ไม่เป็นทีาตาบอด ไม่เป็นที่ดินเปลี่ยว หรือเป็นที่ดินในซอยตัน รถยนต์หรือรถสาธารณะสามารถเข้าถึงได้ 3.ที่ดินที่มีรูปทรงยอดนิยม ส่วนใหญ่ที่ดินที่คนต้องการจะเป็นที่ดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะจะสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถูกตามหลักฮวงจุ้ย ควรหลีกเลี่ยงที่ดินที่มีรูปทรงแปลกๆ 4.ลักษณะที่ดิน และ สภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้ประโยชน์ เช็ค คุณภาพของดิน เเหล่งน้ำ ไฟฟ้า…
ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง? สำหรับใครที่ต้องการขอรังวัดที่ดิน วันนี้ ProspacE รวมขั้นตอนการเตรียมเอกสาร และขั้นตอนการยื่นขอ มาให้ทุกคนค่ะ สาเหตุที่ต้องมีการขอรังวัดที่ดินเกิดขึ้น เช่น เมื่อจะทำการ ซื้อ-ขาย ที่ดิน เมื่อต้องทำการแบ่งที่ดินเพื่อแยกโฉนด เพื่อตรวจสอบว่าที่ดินนั้นๆ มีขนาดและขอบเขตตรงตามโฉนดหรือไม่ โดยขอให้เจ้าหน้ากรมที่ดินมาตรวจสอบ ซึ่งเจ้าของที่ดินอาจขอให้มีการตรวจสอบทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการคลาดเคลื่อนของที่ดินและการอ้างปรปักษ์ได้ ซึ่งทุกครั้งที่มีการขอให้มีการรังวัดที่ดินนั้นจะต้องมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการรังวัด ค่าใช้จ่ายในการจัดการโฉนดและพิสูจน์สอบสวน ขั้นตอนการยื่นเรื่อง รังวัดที่ดิน มีดังนี้… เอกสารประกอบการขอรังวัด 1.บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี) 2 โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ 3.หลักฐานประกอบการขอรังวัดรวมโฉนดที่ดิน 4.บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล…
จะทำอย่างไร? หากหลักหมุดที่ดิน เคลื่อน สูญหาย!!
จะทำอย่างไร? หากหลักหมุดที่ดิน เคลื่อน สูญหาย!! หลักหมุดที่ดิน คือ? หมุดที่ดิน คือ หลักหมายเขตที่ดิน หรือหมุดหลักฐาน ที่ลงไว้ในที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน ได้ทำไว้ เพื่อการทำแบบแผนที่ และการรังวัดที่ดิน ลักษณะของหมุดที่ดิน หลักเขตที่ดี จะมีลักษณะเป็น หลักเขตคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปทรงกระบอก ยาว 30 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร มีจุดศูนย์กลางหลัก เป็นหมายเลขที่ดิน เหนือจัดศูนย์กลาง มีอักษรไทยกำกับ ใต้จุดศูนย์กลาง มีหมายเลขอารบิก ประจำหลักเขต จะกำหนดจำนวนไว้ 4 ตำแหน่ง รวมอยู่ภายในวงกลม มีคำว่า “หลักเขตที่ดิน” อยู่เหนือวงกลม…
อยากซื้อที่ดินมาปลูกบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง
อยากซื้อที่ดินมาปลูกบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง การมีที่ดินเปล่าสักผืน เพื่อปลูกบ้านตามแบบของตัวเอง อาจเป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนใฝ่ฝัน ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อที่ดินจากใคร เราต้องสำรวจอะไรบ้าง มาดูกัน ตำแหน่งและรูปร่างที่ดิน ต้องรู้ขอบเขตของที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่แน่ชัด รวมถึงรูปร่างของที่ดินผืนนั้นๆ ซึ่งที่ดินที่ดีควรมีรูปเป็นสี่เหลี่ยม จึงจะสามารถจัดวางตำแหน่งของตัวบ้านได้ง่ายกว่า ข้อกฎหมายที่ต้องรู้ไว้ อย่างน้อย ควรรู้ถึงข้อกฎหมายเบื้องต้น เช่น เรื่องระยะร่น หรือไปตรวจสอบกับทางราชการว่าในบริเวณนี้จะมีการเวนคืนที่ดินหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีเรื่องสีของผังเมือง ที่จะต้องดูว่าที่ดินนั้นอยู่ในผังสีอะไร ระวังในเรื่องของโซนอุตสาหกรรม โซนโรงงาน เพราะไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย และจะมีปัญหาทางด้านมลพิษ ทางเข้า-ออก นั้น สำคัญมาก หัวใจของการซื้อที่ดิน คือ ทางเข้า-ออกที่จะสามารถไปสู่ถนนสาธารณะได้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็น “ที่ดินตาบอด”หลายคนเข้าใจว่าที่ดินที่มีถนนอยู่ข้างหน้าคือทางเข้า-ออกของที่ดินเรา ซึ่งจริงๆ เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด ทางเข้า-ออกที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่ทางของเรา ทางที่ดีควรตรวจสอบกับกรมที่ดินก่อนตัดสินใจซื้อ…
ที่ดิน นส.3 และ นส.3ก คืออะไร
ที่ดินนส.3 คืออะไร ที่ดิน นส.3 คือ หนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว แต่เพียงสิทธิ์ครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ โดยหนังสือเป็นแบบธรรมดามีการรังวัด และจัดทำแผนที่ของที่ดิน ซึ่งลักษณะของ นส.3 นั้น จะมีตราครุฑสีดำ อนาคตสามารถออกเป็นโฉนดได้และสามารถซื้อขาย จำนองได้ แต่ต้องมีประกาศจากทางราชการล่วงหน้า 30 วัน จึงจะสามารถจดทะเบียนซื้อขายได้ ที่ดิน นส.3ก คืออะไร ที่ดิน นส.3ก คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน โดยออกให้ในท้องที่ที่มีระวาง รูปถ่ายทางอากาศ โดยเป็น 1 ใน 3 ประเภท ที่แยกย่อยออกจาก นส.3 ซึ่งลักษณะของ นส.3ก นั้น จะมีตราครุฑสีเขียว อนาคตสามารถออกเป็นโฉนดได้…
8 ทรัพย์สิทธิในที่ดิน ที่ประชาชนความทราบ
8 ทรัพย์สิทธิในที่ดิน ที่ประชาชนความทราบ ทรัพย์สิทธิที่ดิน หรือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินโดยตรง โดยทั่วไปแล้วทรัพย์สิทธิจะเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินมากที่สุด เพราะทรัพย์สิทธิส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์สิทธิที่พบได้ในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น และทรัพย์สิทธิเหล่านี้บ่อยครั้งที่จะกลายเป็นภาระติดพัน ที่เกิดขึ้นซึ่งจะทำให้เจ้าของที่ดินนั้นจะไม่สามารถทำประโยชน์ในที่ดินได้อย่างเต็มที่ถือว่าเป็นการบั่นทอนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ไปในตัวด้วย 1. กรรมสิทธิ์ สิทธิทั้งปวงที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตน และได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น 2. สิทธิครอบครอง หมายถึง สิทธิที่จะยึดถือทรัพย์สิน เพื่อนตน ตามกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๖๗ 3. ภาระจำยอม หมายถึง ข้อผูกผันที่ทำให้เจ้าของอสังหาฯ จำต้องยอมรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน 4. สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ที่ได้มาโดยผลของการเข้าทำ นิติกรรมระหว่างคู่สัญญา 5. สิทธิเหนือพื้นที่ หมายถึงสิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็น เจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพราะปลูกบนที่ดิน หรือใต้ดินของผู้อื่น…
เปลี่ยนที่ดิน นส.3,นส.3ก เป็นที่ดิน นส.4 (โฉนดที่) ได้หรือไม่
เปลี่ยนที่ดิน นส.3,นส.3ก เป็นที่ดิน นส.4 (โฉนดที่) ได้หรือไม่ หากต้องการเปลี่ยนจาก นส.3 หรือ นส.3ก ให้เป็นโฉนดที่ดินนั้นก็สามารถนำ นส.3 หรือ นส.3ก ไปยังสำนักงานที่ดินในจังหวัดท้องที่นั้นๆ เพื่อยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินได้ ทั้งนี้ที่ดินนั้นจะต้องมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อที่ 14 กล่าวคือ จะต้องเป็นที่ดินที่มีผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว ไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ ไม่เป็นที่ดินซึ่งหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 ไม่เป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนและพัฒนาที่ดิน เพื่อจัดให้แก่ประชาชน ไม่เป็นที่ดินของรัฐที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนหรือหวงห้ามเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ไม่เป็นที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
การแก้ปัญหา โฉนดที่ดินหาย หรือชำรุด
โฉนดที่ดินหาย หรือชำรุด ปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่โฉนดที่ดินก็ไม่ใช่ของที่ใครจะพกติดอยู่กับตัวตลอดเวลา วันดีคืนดีอาจเกิดเรื่องไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรมทำให้โฉนดที่ดินหาย หรือน้ำ ไฟ ความชื้น ทำให้โฉนดที่ดินขาด เสียหายชำรุดได้ และหากโฉนดที่ดินหาย ชำรุดขึ้นมาควรทำอย่างไร พร้อม 12 ขั้นตอนการขอออกโฉนดที่ดินใหม่ โฉนดที่ดินหายอันดับแรกต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อรู้ตัวว่าโฉนดที่ดินหายนั้น สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือการไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น และต้องการจะมาขอออกโฉนดเป็นชื่อเดิม โดยการไปแจ้งความนี้ก็เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่าการจะไปขอออกโฉนดใหม่ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำการทุจริตใด ๆ จากนั้นเมื่อแจ้งความเรียบร้อย ก็สามารถนำบันทึกประจำวันมาติดต่อกับสำนักงานที่ดินอีกครั้ง เพื่อจะทำการขอออกโฉนดที่ดินใหม่ ซึ่งหากภายหลังมีการทุจริตเกิดขึ้นจริงบันทึกประจำวันนี้จะเป็นหลักฐานนำไปสู่คดีทางอาญาที่มีโทษร้ายแรงได้ โฉนดที่ดินหาย ต้องมีพยานรับรอง 2 คน หลักฐานที่สามารถรับรองว่าโฉนดที่ดินหายจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก บางครั้งเพียงแค่บันทึกประจำวันอาจไม่เพียงพอให้ใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอออกโฉนดที่ดินใหม่ได้ ดังนั้นเพื่อความชัวร์เจ้าของที่ดินที่ทำโฉนดที่ดินหายอาจจะต้องหาพยานเพื่อมารับรองว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินนั้น ๆ และได้ทำโฉนดสูญหายจริง และสามารถยืนยันพฤติกรรมเจ้าของที่ดินให้มีความน่าเชื่อถือได้ว่าไม่ได้เป็นคนมีหนี้สินหรือมีการนำที่ดินไปจำนองกับนายทุนแล้วมาขอออกโฉนดใหม่ โดยสำนักงานที่ดินกำหนดให้ต้องมีพยานรับรอง 2…
ทางจำเป็นกับภาระจำยอม ต่างกันอย่างไร?
ข้อแตกต่างระหว่างภาระจำยอมกับทางจำเป็น สรุปสั้นๆแบบเข้าใจง่ายๆ ที่ดินตาบอด หรือ ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ หรือ ที่ดินที่ต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน กฎหมายวางแนวทางแก้ไขไว้ให้เจ้าของที่ดินเหล่านี้แล้ว แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่อง “ภาระจำยอม” กับกฎหมายที่ว่าด้วย “ทางจำเป็น” ซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ปัญหาของที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือที่ดินที่ไม่มีทางสัญจรไปมาที่เรียกว่าที่ดินตาบอดหรือที่ดินที่ต้องตกอยู่ในภาระจำยอมโดยเจ้าของที่ดินต้องรับกรรมบางอย่างเพื่อให้ที่ดินแปลงอื่นได้ใช้ประโยชน์ ในที่ดินของตน โดยกฎหมายได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับเจ้าของที่ดินไว้เป็น ๒ ลักษณะ คือ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องภาระจำยอมและกฎหมายว่าด้วยเรื่องทางจำเป็นซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกฎหมาย ๒ เรื่องนี้มีลักษณะทางกฎหมายและผลบังคับใช้แตกต่างกันและยังเป็นที่สับสนว่าที่ดินลักษณะใดเป็นทางจำเป็นหรือที่ดินลักษณะใดเป็นภาระจำยอม ดังนั้น บทความนี้จึงเขียนขึ้นในลักษณะ เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของกฎหมายทั้งสองเรื่อง ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ๑. ความหมาย ภาระจำยอม หมายถึง ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ โดยทำ…