ข้อแตกต่างระหว่าง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน & ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง จะเรียกเก็บก็ต่อเมื่อเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ เบื้องต้นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หากมีการให้ผู้อื่นเช่าในการเสียภาษีนั้นจะต้องตกลงกันและดูข้อตกลงในสัญญาเช่าว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียภาษีระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า

ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น ไม่ว่าจะทำประโยชน์หรือไม่ทำประโยชน์ต่อที่ดินนั้นก็ตาม ก็ต้องทำการเสียภาษีให้กับท้องที่นั้นๆ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำเงินมาชำระภาษีตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 30 เมษายนของทุกปี และที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ก็คือ ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว

การคำนวณภาษี

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เช่น บ้านให้เช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 (1,000 × 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 1,500 บาท

ภาษีบำรุงท้องที่

คำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีคูณกับเนื้อที่อัตราภาษี

เนื้อที่ดิน (ไร่)  =  เนื้อที่ถือครอง  –  เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน
ค่าภาษีต่อไร่    =   ตามบัญชีอัตราภาษี ฯ ท้าย พรบ.ฯ

สรุป

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะจัดเก็บก็ต่อเมื่อมีโรงเรือน ที่อยู่อาศัย หรือ อาคารสิ่งปลูกสร้างอันใดก็ตามที่ก่อให้เกิดรายได้รวมไปถึงที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องด้วย จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากใช้เพื่ออยู่อาศัยหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ก็เสียภาษีบำรุงท้องที่

Blogs
What's New Trending

Related Blogs