ที่ดิน ภบท.5 ก็สามารถออกโฉนดได้

1. ที่ดินภบท.5 คือ เอกสารการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภาษีดอกหญ้า) ซึ่งท้องถิ่นเก็บ ไม่เกี่ยวกับว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิครอบครองที่ดิน เพราะเจ้าของที่ดินก็ยังคงเป็นของทางราชการอยู่ เพียงแต่อาจจะให้มีการใช้ประโยชน์ชั่วคราว แต่ไม่ถือว่าผู้ที่ใช้ประโยชน์นั้นเป็นเจ้าของที่ดิน 

2. ที่ดินในลักษณะนี้ปกติจะซื้อขายกันไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับ ยังไม่รู้ว่าต่อไปจะสำรวจออกเอกสารสิทธิหรือไม่อย่างไร (หากที่ดินไม่ได้อยู่ในเขตป่า ฯ , เขตปฏิรูปที่ดิน , เขตที่สาธารณประโยชน์ , ที่หลวงสงวนหวงห้าม 

3. สามารถนำรังวัดออกโฉนดได้โดยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ตามโครงการของกรมที่ดิน ซึ่งมีโครงการทุกปี แต่ละจังหวัด แต่ละอำเภอ แต่ละตำบล ซึ่งจะประกาศเป็นพื้นที่ ๆ ไป 

ต้องคอยติดตามประกาศของกรมที่ดิน ได้ที่เว็บไซต์ของกรมที่ดิน : www.dol.go.th)

4. แต่ก็มีการซื้อขายกันเอง โดยการโอนเปลี่ยนมือไปเรื่อย ๆ กล่าวคือ ชำระราคา ส่งมอบการครอบครอง และเปลี่ยนชื่อผู้เสียภาษีในใบเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นชื่อผู้ซื้อ แต่ใช้ยันกันได้ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเท่านั้น จะใช้ยันทางราชการไม่ได้ ไม่ว่าจะครอบครองมากี่สิบปีก็ตาม จะอ้างการซื้อขายไปยันกับทางราชการก็ไม่ได้

5. กรณีหากจะซื้อที่ดินดังกล่าวควรตรวจสอบข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบดูพิกัดและระวางที่ตั้งของที่ดินที่ปรากฏในใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ โดยขอคำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ อบต.
  2. เมื่อรู้รายละเอียดตามข้อ 1. แล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องนำพิกัดหรือระวางของที่ดินนั้นไปตรวจสอบกับกรมป่าไม้ หรือกรมทหารในเขตพื้นที่นั้น เพื่อจะได้ทราบว่าที่ดิน ภบท.5 ทับซ้อนที่ป่าไม้ หรือที่ทหารหรือไม่

กรณีหากที่ดินตกสำรวจออก นส.3 หรือเอกสารอื่น ไม่ใช่ที่ป่า ที่ดินข้างเคียงเป็นโฉนด หรือนส.3 ไปแจ้งเสียภาษี ที่ดิน ภบท.5 ไว้ก็มี ซึ่งสามารถออกโฉนดได้ ก็ลองไปตรวจสอบแผนที่ออกโฉนดกับสำนักงานที่ดินว่าของเราอยู่แนวออกโฉนดได้หรือไม่

ที่มา : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

Blogs
What's New Trending

Related Blogs